วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คลังหนังสือดิจิทัล ช่องทางอ่านของหนอนหนังสือยุคใหม่

เทรนด์ที่เห็นชัดเจนในอุปกรณ์ดิจิทัลคือ ผู้ใช้จำนานมากเริ่มใช้งานเข้าเว็บอ่านข่าว ดูคลิป ฟังเพลง หรือที่เรียกกันว่า "ดิจิทัล คอนเทนต์"
นึกไม่ถึงว่า หลังจากแอปเปิลเปิดตัวจำหน่ายไอแพดอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว อีกสองอาทิตย์ต่อมาไอแพดขาดตลาด ต้องรอจนช่วงคริสต์มาสถึงเข้ามารอบใหม่
 ที่น่าสนใจคือ ในยุทธภพคอมพิวเตอร์แท็บเลตไม่ได้มีแค่ไอแพดที่เหมือนไอโฟน แต่ไม่มีฟังก์ชันโทรศัพท์ ยังมีซัมซุง กาแลคซี่ แทบ จอ 7 นิ้ว และอีกหลายค่าย อย่าง เดลล์ สตรีก จอ 5 นิ้ว กำลังเข้าคิวรออยู่ สามารถใช้คุยโทรคุยสายและเข้าเน็ตดูหน้าเว็บแบบเต็มจอได้ด้วย
 แนวโน้มที่เห็นชัดเจนอีกประการคือ ผู้ใช้เริ่มใช้งานเข้าเว็บอ่านข่าว ดูคลิป ฟังเพลงจากอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า "ดิจิทัล คอนเทนต์" มากขึ้นเรื่อยๆ
 สุรัตน์ บัณฑิตลักษณะ กรรมการผู้จัดการบริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด วัย 32 ปี มองเห็นรูปแบบชีวิตของคนรุ่นใหม่ติดหนึบอยู่กับมือถือ และไอแพดมากขึ้น และคิดว่า การเปิดร้านหนังสือออนไลน์ถึงเวลาสุกงอมแล้ว เว็บ www.ebooks.in.th คลังหนังสือออนไลน์ที่รวบรวมหนังสือภาษาไทยจึงปรากฏตัวขึ้นมารองรับความต้องการอ่านอีบุ๊กของหนอนหนังสือคนไทย
 ร้านหนังสืออีบุ๊ก และอุปกรณ์อีบุ๊กในต่างประเทศเกิดขึ้นมาก่อนนานแล้ว ยกตัวอย่าง อะเมซอน (amazon.com) นอกจากจำหน่ายหนังสือแล้ว ยังจำหน่ายเครื่องคินเดิลสำหรับอ่านอีบุ๊กด้วย ส่วนค่ายสำนักพิมพ์ บาร์นแอนด์โนเบิลก็ออกอุปกรณ์อ่านที่ชื่อ นุก ด้วยเช่นกัน ฟากญี่ปุ่น โซนี่ รีดเดอร์ คือตัวชูโรง แต่ที่ดังในเมืองไทยคือ ไอแพดของแอปเปิล
 กระแสดังกล่าวทำให้สุรัตน์ตัดสินใจทำคลังหนังสือไทยออนไลน์ รวมถึงพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้หนังสือสามารถเปิดอ่านได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมือถือ ไอโฟน ไอแพด หรือแท็บเลตที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รวมถึงเพลย์บุ๊กจากค่ายแบล็กเบอร์รี่ ที่เขาเชื่อว่าจะเข้ามาปลุกกระแสการอ่านออนไลน์บ้านเราให้คึกคัก
 “ผมเชื่อว่า อีกไม่นานคนจะพกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตัวมากขึ้น และเริ่มหันมาอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพาจนเป็นเรื่องปกติ คล้ายกับยุคเริ่มต้นการมาของไอพอด ที่ทำให้รูปแบบการฟังเพลงของคนค่อยๆ เปลี่ยนไป” เขามั่นใจ
 ร้านหนังสือดิจิทัลเคยปรากฏตัวในไทยมาแล้ว แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหตุผลสำคัญเป็นเพราะจำนวนอุปกรณ์พกพายังมีไม่มากพอจนกระตุ้นความต้องการอ่านหนังสือบนอุปกรณ์พกพา อีกทั้งการอ่านอีบุ๊กในคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สะดวก ทำให้คลังหนังสือดิจิทัลในยุคแรกอยู่ในรูปแบบออฟไลน์มากกว่า
 “การจะทำให้คลังหนังสือเกิดต้องมีระบบที่มากกว่าแจกฟรี คือขายได้ด้วย โดยหนังสือในเวอร์ชั่นออนไลน์ต้องมีราคาต่ำกว่าหนังสือปกเดียวกันที่วางอยู่บนแผง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสามารถทำได้ เพราะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีต้นทุนค่าจัดพิมพ์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสุดของระบบการพิมพ์ ณ ปัจจุบัน” เขาอธิบาย
 ไม่เฉพาะแต่สำนักพิมพ์เท่านั้นที่ใช้ www.ebooks.in.th เป็นช่องทางจำหน่ายหนังสือ เจ้าของผลงานสามารถสมัครสมาชิกและอัพโหลดไฟล์หนังสือที่เป็นพีดีเอฟได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านสำนักพิมพ์ ผลงานหนังสือจะปรากฏให้คนที่สนใจได้ดาวน์โหลดไปอ่าน เจ้าของผลงาน และสำนักพิมพ์ยังลดต้นทุนค่ากระดาษ และค่าจัดส่งลงได้อีกมากมาย
 อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันโครงการสร้างคลังหนังสือออนไลน์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่เปิดตัวเป็นทางการ แต่ตลอด 1 เดือน ที่ผ่านมา หลังจากเปิดหน้าเว็บ ebooks.in.th มีหนังสือที่ถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลบรรจุอยู่ในคลังแล้ว 300 เล่มจากเครือข่าย เช่น ข่าวและบทความประชาสัมพันธ์จากมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร หนังสือจากไอเน็ต ตลอดจนไฟล์อีบุ๊กภาษาไทยที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ให้มาปรากฏอยู่ในคลังหนังสือ
 คลังหนังสือซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่แจกฟรีบนเว็บอยู่แล้ว เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มช่องทางการอ่านและเข้าถึงได้มากขึ้น โดยคาดว่าเมื่อแอพพลิเคชั่นอีบุ๊กได้รับการอนุมัติ และปรากฏอยู่ในแอพสโตร์ขอแอปเปิล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อถึงเวลานั้นบรรยากาศของคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคึกคักขึ้น
 “สำหรับเรื่องของรายได้นั้น ในปีแรกเรายังไม่ได้หวังกับรายได้มากนัก เพียงแต่อยากให้คนไทยมีแอพพลิเคชั่นอีบุ๊กเป็นมาตรฐานบนเครื่อง ทันทีที่อยากอ่านหนังสือไทยต้องคิดถึงเรา รายได้คงมาในยุคหลังที่ไทยอีบุ๊กเป็นที่รู้จัก และต่อไปหนังสือที่ขายบนแผงอาจจะเปิดตัวพร้อมกับหนังสือในโลกออนไลน์ก็เป็นได้”

อีบุ๊ค..มาแรง ยุค'ไฮบริด มีเดีย'

Simba Information บริษัทด้านมีเดียและมาร์เก็ตติ้ง ได้นำเสนอตัวเลขยอดการใช้งานอีบุ๊ค (e-Book) บนไอแพด iPad ในปี 2553
Simba Information คาดว่ามียอดจำหน่าย 12 ล้านเครื่องทั่วโลก และจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 43 ล้านเครื่องในปี 2554  ซึ่งผู้ซื้อไอแพด จะมีผู้ใช้งานอีบุ๊คประมาณ 65% หรือราว 7.8 ล้านคนในปี 2553 และเพิ่มเป็น 30 ล้านคนในปี 2554 เรียกว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่า 400% เลยทีเดียว
สมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ประเมินแนวโน้มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊คในประเทศไทย จากการสำรวจผู้เข้าชมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ช่วงเดือน ต.ค.2553 จำนวน 1,316 ราย พบว่ามีจำนวน 40 ราย หรือ 3% ที่อ่านหนังสือจากอีบุ๊ค และผู้เข้าชมงานจำนวน 1,071 ราย หรือ 81.4%  บอกว่ายังไม่มีอีบุ๊ค

อย่างไรก็ตาม ตลาด
อีบุ๊คในประเทศไทย มีโอกาสได้รับความนิยมสูงในอนาคต เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร ที่ส่งผลให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ดูได้จากอัตราการเพิ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศในแต่ละปี

นอกจากนี้อีรีดเดอร์ เริ่มมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากกระแสความนิยมที่แพร่หลายจากต่างประเทศ

สังเกตได้จากการเปิดตัวของเครื่อง อีรีดเดอร์ รุ่นและแบรนด์ต่างๆ ในประเทศไทย ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ไอแพด มียอดขาย 200 เครื่องใน 1 ชั่วโมงแรกของการเปิดตัว ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากเครื่องอีรีดเดอร์ ที่มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักเบา และพกพาติดตัวได้ง่าย,
ซอฟต์แวร์ อีบุ๊ค รีดเดอร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายราย และบางซอฟต์แวร์ เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี และราคาของอีรีดเดอร์ ถูกลงขณะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 การเติบโตของ
อีบุ๊ค เชื่อว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของแต่ละคน รวมทั้งอุตสาหกรรมหนังสือ สำนักพิมพ์ ผู้จำหน่ายหนังสือ ให้หันมาสนใจโครงสร้างทางธุรกิจแบบผสม (Hybrid Media) ระหว่างการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มๆ และการทำคอนเทนท์บน e-Paper ที่ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดได้อย่างสะดวก และเข้าถึงได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง

ผลในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมหนังสือ คือ การสร้างข้อมูลเนื้อหาบน
อีบุ๊ค สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว สวยงาม มีต้นทุนต่ำ และสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วโลก และยังช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ ที่เป็นต้นทุนหลักของอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม
อีบุ๊ค ในประเทศไทยขณะนี้ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่อง ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสืออีบุ๊ค และสิทธิของผู้ใช้งานได้ รวมทั้งมาตรฐานการผลิตอีบุ๊ค ด้านรูปแบบเนื้อหา การใช้ภาษา และการนำเสนอคอนเทนท์ อาจไม่เหมาะสมกับผู้อ่านบางกลุ่ม และมาตรฐานการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต ด้านการกำหนดราคา และการจัดการสต็อกหนังสือ ให้หนังสือทั้งสองรูปแบบ ทั้งอีบุ๊ค และหนังสือเล่ม สามารถแข่งขันกันได้

แม้ว่าจะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผู้อ่านหนังสือคนไทยจะให้ความสนใจ
อีบุ๊ค มากขึ้นหรือไม่ หรือ อีบุ๊ค จะสามารถแทนที่หนังสือเล่มได้หรือไม่ ผู้ผลิตเนื้อหา สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสำนักพิมพ์ ควรกำหนดแนวทางในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊คให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง   เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย และเพื่อเพิ่มให้โอกาสให้แก่ผู้อ่านหนังสือ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังจำนวนผู้อ่านหนังสือที่จะมากขึ้นได้ในอนาคต

จามจุรีเกมส์ไฮเทคใช้ Social Network Phone

จามจุรีเกมส์ ครั้งที่ 38 จุฬาฯเจ้าภาพ มิติใหม่ของการแข่งขันกีฬาที่มี Social Network เข้ามาเป็นเครื่องมือสื่อสารหลัก
กระแสการใช้ Social Network จากโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเรื่องใหม่และเปลี่ยนแปลงการสื่อสารของโลกปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง นักธุรกิจแชทกันผ่านเครือข่ายตกลงธุรกิจระหว่างกัน วัยรุ่นแชร์ไฟล์ หรือรูปภาพขึ้น Facebook เว็บไซต์หาเพื่อนชื่อดังเพื่อให้กลุ่มเพื่อนตัวเองรู้ว่าไปทำอะไรมา โดยที่เพื่อนทั้งหลายก็มาพูดคุยสนุกสนานกันได้ต่อแม้จะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตาม ฯลฯ โลกของการสื่อสารยุคใหม่หมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจริงๆ
          นอกจากชีวิตทั่วไปจะถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงโหมกระหน่ำแล้ว โลกของกีฬาก็ได้ปรับตัวและนำ Social Network มารับใช้อย่างเต็มตัว ถ้าจะบอกว่า จามจุรีเกมส์ หรือกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 15-22 มกราคมนี้ คือมิติใหม่ของการแข่งขันกีฬาที่มี Social Network เข้ามาเป็นเครื่องมือสื่อสารหลัก และเป็นครั้งแรกทั้งของไทยและของโลก คงจะไม่ดูเกินเลยไป
  จุฬาฯ เจ้าแรกของโลก ใช้ Social Network สื่อสาร
          หากย้อนกลับไปที่การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์เป็นเจ้าภาพเมื่อหลายปีก่อน ที่แห่งนี้เคยเป็นจุดกำเนิดของการนำเพจเจอร์ ที่เป็นระบบส่งข้อความสั้นผ่านระบบรวมจากศูนย์กลาง มาเป็นจุดกระจายข่าวสารไปยังเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หลังจากที่ระบบสื่อสารด้วยเพจเจอร์สิ้นยุคไปด้วยการแทนที่ของโทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสารที่เป็นหลักกลับยังเป็นเครื่องวอล์คกี้ทอล์คกี้ที่มีข้อจำกัดมากมายแต่ยังคงจุดเด่นที่ความมีเสถียรภาพในการสื่อสารแบบกลุ่มนั่นเอง
          มาถึงยุคปัจจุบัน Social Network ที่รวบรวมการนำเทคโนโลยีต่างๆ มากมายมาประยุกต์ใช้ ได้ทำให้การสื่อสารของคนไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานรองรับ โปรแกรมแอพพลิเคชันมากมายจะทำให้ผู้ที่ใช้ไร้พรมแดนไร้ข้อจำกัด สิ่งเดียวที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันคือ เครื่องมือที่พกพา Social Network ไปกับตัว
          ในบรรดาเครื่องมือทั้งหมด สิ่งที่พบเห็นกันมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือยุคใหม่ที่เรียกว่า Smart Phone เพราะโทรศัพท์จำพวกนี้มีระบบปฏิบัติการที่เอื้อต่อการสื่อสารยุคใหม่ ทั้งระบบโทรศัพท์ ระบบแชร์ไฟล์ภาพ เสียง วิดีโอ ฯลฯ ระบบ Chat และอื่นๆ แต่โทรศัพท์แต่ละรุ่นแต่ละแบบก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไป กลายเป็นจุดขายที่ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้ตามความต้องการได้
          แต่สำหรับการนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬาระดับประเทศ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยต้องถือว่าขนาดของการแข่งขันนั้นไม่ได้เล็กแต่อย่างใดเลย เพราะมีตัวแทนการแข่งขันจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม มีสถานที่และสนามแข่งจำนวนมากที่ต้องสื่อสารระหว่างกัน
          โจทย์ใหญ่ของระบบการสื่อสารในการแข่งขันกีฬาแบบเดิมๆ ที่เกิดขึ้นคือ ระบบที่สามารถทำได้คือ การรายงานจากจุดต่างๆ จากหนึ่งจุดเข้าไปที่ศูนย์กลาง และศูนย์กลางจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการสื่อสารต่อจุดไปยังจุดที่เกี่ยวข้อง โดยที่จุดอื่นๆ จะไม่สามารถรับทราบ หรือเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้เลย
          แม้กระทั่งการสื่อสารผ่านระบบวอล์คกี้ทอล์คกี้ ที่แม้จะพยายามจะทลายกำแพงปัญหานี้ แต่ทั้งข้อจำกัดจากการสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว และข้อจำกัดทางด้านคลื่นที่สั้นทำให้ระยะทางการสื่อสารมีข้อจำกัด ทำให้กำแพงของปัญหาถูกแก้ไขได้แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น

Social Network ทลายกำแพงตอบโจทย์การสื่อสารทุกรูปแบบ
          หากบอกว่าโจทย์เหล่านี้มือถือยุคใหม่อย่าง SPRiiiNG ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาให้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินเลยแต่อย่างใด
          บริษัท สปริง เทเลคอม ผู้ผลิตแพลตฟอร์ม SPRiiiNG ที่โดดเด่นในด้านการ Chat โดยมีโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG รุ่น Smile ซึ่งเป็น The Social Network Phone ตัวจริงของโลกตัวแรกได้เริ่มเปิดตลาดในเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคมนี้ ได้กระโดดเข้ามาสนับสนุนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 หรือจามจุรีเกมส์ โดยมุ่งมั่นว่าสิ่งที่สนับสนุนครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารในการแข่งขันกีฬา และในชีวิตประจำวันของคนไทยต่อไป
          สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ จะมีอาสาสมัครจากนิสิตจุฬาฯ กว่า 100 ชีวิต ห้อยคอด้วยโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG พร้อมซิลิโคนใสสีชมพู แสดงความเป็นจุฬาได้อย่างชัดเจน และทั้งหมดจะสื่อสารกันผ่านระบบ SPRiiiNG ที่จะทำให้การแข่งขันครั้งนี้ราบรื่นที่สุด
          ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ อาสาสมัครสามารถเข้าสู่ระบบ Chat ของ SPRiiiNG พูดคุยกับทั้งศูนย์กลางและสื่อสารกันเองจากบุคคลสู่บุคคล หรือบุคคลสู่กลุ่มได้ หรือเป็นระบบ Many to Many หาใช่ระบบ One to One หรือ One to Many อีกต่อไป
          ตัวอย่างการรายงาน เช่น การรายงานผลการแข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด อาสาสมัครที่อยู่สนามหนึ่ง เมื่อทราบผลการแข่งขันก็กดผลสกอร์ที่เกิดขึ้นส่งเข้าไปในกลุ่ม ทั้งศูนย์กลางและเจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถทราบผลสกอร์ดังกล่าวโดยทันที หรือการรายงานสภาพการจราจรภายในศูนย์แข่งขันกีฬา จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ ทันท่วงที
          นอกจากการพิมพ์แบบ Chat แล้ว โทรศัพท์มือถือของ SPRiiiNG ยังทำให้อาสาสมัครสามารถส่งไฟล์เสียงผ่านเครือข่าย ส่งรูปเหตุการณ์ทั้งสำคัญทั้งภายในและภายนอกสนามเข้าสู่ศูนย์กลางและภายในกลุ่มอาสาสมัครด้วยกันเองได้ รวมถึงไฟล์ภาพเคลื่อนไหวอย่างวิดีโอ ตัวอย่างเช่น อาสาสมัครอาจพบตั๋วผีเกิดขึ้นจากสนามแข่งขันบางแห่ง ก็สามารถส่งรูปของตั๋วผีดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้อาสาสมัครคนอื่นได้รับทราบเพื่อระวังป้องกันต่อไปได้
          ระบบโทรศัพท์ SPRiiiNG ที่ใช้ในการแข่งขันจามจุรีเกมส์ครั้งนี้ ยังเน้นการใช้ Social Network อย่างเต็มรูปแบบ จากการที่อุปกรณ์ภายในเครื่องมี GPS ติดตั้งอยู่ในตัว เชื่อมต่อกับระบบแผนที่ของ Google ผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.1 ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ทำให้การใช้งานมีความทันสมัยอย่างมาก เพราะนอกจากระบบศูนย์กลางจะสามารถเห็นตำแหน่งของทุกเครื่องจากหน้าจอแล้ว อาสาสมัครทุกคนก็มีข้อมูลนี้อยู่เช่นกัน ดังนั้นการสื่อสารเพื่อบอกกล่าวและจัดการปัญหาในจุดที่อาสาสมัครนั้นๆ ประจำอยู่จะทำได้ง่ายต่อการจัดการ และการวางแผนทั้งระบบอีกด้วย
 

SPRiiiNG ลดค่าใช้จ่ายจามจุรีเกมส์
          สิ่งที่โทรศัพท์มือถือ Social Network ตัวจริงเชื้อสายไทยอย่าง SPRiiiNG รายนี้ได้ทำให้เห็นแล้วอย่างหนึ่งก็คือ การจัดการกับระบบ Chat เป็นกลุ่มที่มีมากกว่า 100 คน ที่เคยถือเป็นข้อจำกัดของระบบ Chat ของต่างชาติจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และรูปแบบการ Chat ที่เอื้อต่อคนไทย ใช้งานง่ายโดยสามารถเรียนรู้การใช้งานภายในครึ่งชั่วโมง (สำหรับคนที่ไม่เคยใช้งานระบบ Chat ในโทรศัพท์มือถือมาก่อน)
          ที่สำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ระบบเสียงผ่านการโทรศัพท์ไร้สายตามปกติ มาเป็นระบบ Data หรือการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน เพราะหากใช้ระบบโทรศัพท์ปกติจะเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อสารจำนวนมากตามมา ซึ่งเมื่อหันมาใช้ SPRiiiNG เป็นระบบสื่อสารโดยมีแพคเกจเฉพาะที่ทำไว้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารลดลงกว่า 80%
          ในการแข่งขันจามจุรีเกมส์ครั้งนี้ SPRiiiNG ได้จับมือกับ TRUE ในการให้บริการระบบ EDGE และ 3G ผ่านมือถือของ SPRiiiNG โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามผู้ใช้งาน SPRiiiNG โดยทั่วไปสามารถเข้าสู่ระบบ SPRiiiNG ด้วยแพคเกจอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วไปในราคาไม่ถึง 120 ต่อเดือน
          ยิ่งไปกว่านั้นจากกระแสอินเทอร์เน็ตที่กล่าวถึงโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG อย่างร้อนแรง และมีความต้องการเป็นเจ้าของก่อนการเปิดตัวจำหน่ายจริงในปลายเดือนมกราคมนี้ ผู้ที่สนใจทุกท่านสามารถซื้อมือถือ SPRiiiNG รุ่น Smile ในราคา 5,990 บาท จากราคา 6,850 บาท และหากซื้อพร้อมกันจำนวน 5 เครื่อง สามารถซื้อเครื่องที่ 6 ได้ในราคา 1 บาท โดยจำกัดช่วงโปรโมชั่นนี้ถึงวันที่ 22 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่การแข่งขันจามจุรีเกมส์จบสิ้นลง โดยสามารถหาซื้อได้ที่บูทของ SPRiiiNG ด้านข้างของสนามฟุตบอลจุฬาฯ หรือสนามจุ๊บ

หุ่นยนต์ตรวจมะเร็งตัวแรกในไทย

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เตรียมพร้อมรับมือมะเร็งปากมดลูก ชูเทคนิคใหม่ตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยหุ่นยนต์ เพิ่มความแม่นยำ
 นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ทดลองใช้เครื่องตรวจมะเร็งชนิดใหม่ ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ (ThinPrep Imager System) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองหาเซลล์ผิดปกติ และมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ด้วยระบบอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองเซลล์ผิดปกติได้พร้อมกัน 22 จุด เป็นเครื่องแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นำมาใช้งานจริงแล้วที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
 เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ที่มีความเกิดข้องกับมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถตรวจพร้อมกันได้ 250 ตัวอย่าง และมีความผิดพลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับการตรวจแบบปกติ ทำให้ไม่ต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผล
 "การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิคตินเพร็บได้นำมาใช้ในประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยเทคนิคดังกล่าวมีความไวมากกว่าการตรวจด้วยเทคนิคแป็ปสเมียร์ในแบบเดิม และเป็นครั้งแรกที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้นำเครื่อง ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ หรือระบบหุ่นยนต์ช่วยในการวิเคระห์ผลแทนมนุษย์เข้ามาใช้ สามารถตรวจทราบผลได้ภายใน 3-5 วัน"ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าว
 ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่ ไม่ต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในแบบเดิมหรือตินเพร็พ (ThinPrep) ที่ 500 บาท ต่อตัวอย่างซึ่งจำเป็นต้องใช้ชุดน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์ผล ขณะที่ตัวเครื่องมีราคาสูงถึง 20 ล้านบาท
 อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันอัตราผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะลดลงกว่าที่ผ่านมา แต่ นพ.ธีรวุฒิ กล่าวยอมรับว่า มะเร็งปากมดลูกยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของผู้ป่วยใหม่ รองจากมะเร็งเต้านม และมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 1 หมื่นคนต่อปี
 สำหรับวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้คือการตรวจคัดกรอง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดโรค ทั้งนี้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น
 "การตรวจด้วยเทคนิคเซลล์วิทยาจะช่วยให้พบความผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็งได้ถึง 50% อีกทั้งการตรวจที่แม่นยำจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมาตรวจซ้ำเป็นประจำทุกปี หรือ 5 ปี ครั้ง สำหรับสตรีที่แต่งงานแล้ว และอายุ 30 ปีขึ้นไป" นพ.ธีรวุฒิ กล่าว
 ทั้งนี้ นอกจากเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเครื่องตินเพร็พ อิมเมเจอร์ แล้ว ในทางการแพทย์ยังได้พัฒนาเครื่องมือช่วยตรวจหามะเร็งปากมดลูกจากไวรัสเอสพีวี ซึ่งมีความจำเพาะต่อโรคมากกว่า โดยเทคโนโลยีใหม่สามารถตรวจหาได้ละเอียดถึงระดับเซลล์ในตำแหน่งที่ 16 และ 18 ของเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่ก่อมะเร็งได้สูงถึง 70% แต่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่ สูงถึง 1,600 บาทต่อตัวอย่าง ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติจะนำตัวเครื่องที่พัฒนาให้ตรวจได้ในราคาถูกเข้ามาให้บริการแก่ผู้ป่วยในประเทศไทยต่อไป

ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม

โปรแกรมผู้ช่วยแพทย์ ผลงานเนคเทคเพื่อชุมชน
โปรแกรมเก็บข้อมูลสุขภาพครัวเรือนติดตั้งใช้งานบนซัมซุง กาแลคซี่ แท็บ สนับสนุนภารกิจแพทย์และเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลชุมชนเฝ้าระวังโรคระบาด

วัชรากร หนูทอง หัวหน้าโครงการวิจัยโครงการระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนแบบพกพาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า จากการนำระบบต้นแบบไปทดสอบประสิทธิภาพโดยทีมของ นพ.สุธี สุดดี ที่ปรึกษาโครงการฯ และแพทย์ประจำโรงพยาบาลวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี พบว่าสามารถเก็บข้อมูลสุขภาพและสร้างผังเครือญาติในรูปแบบกราฟฟิกได้อย่างแม่น
 ระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนบนอุปกรณ์พกพา เป็นโปรแกรมที่พัฒนาให้ใช้งานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยเลือกทดสอบกับซัมซุง กาแลคซี่ แท็บ ขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว ในฐานะโปรแกรมเสริมระบบงานสถานีอนามัย JHCIS v.1.10 (2009) ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
 นักวิจัยอธิบายขั้นตอนใช้งานว่า สถานีอนามัยที่ต้องการใช้งานเพียงลงทุนซื้ออุปกรณ์พกพาในราคาไม่เกิน 2 หมื่นบาท และลงโปรแกรมที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น จากนั้นจะสามารถถ่ายข้อมูลสุขภาพผู้มาใช้บริการในชุมชนตนเองจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปยังอุปกรณ์แอนดรอยด์ และพกพาไปเยี่ยมเยียนผู้ใช้บริการและอัพเดทข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
 ระบบดังกล่าวมีโหมดใช้งานหลัก 2 โหมด ได้แก่ โปรแกรมแผนที่ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาและทดสอบการใช้งาน ในโหมดดังกล่าวเจ้าหน้าที่สามารถกำหนดพิกัดหลังคาเรือนแต่ละหลังด้วยระบบจีพีเอส บนแผนที่กูเกิลแม็พแบบออนไลน์ได้ โดยมีไอคอนแสดงภาวะหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยเรื้อรังเป็นสีแดง และบ้านที่ผู้อาศัยมีสุขภาพปกติเป็นสีเขียวแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบอย่างชัดเจน
 โหมดต่อมาเป็นโปรแกรมสร้างผังเครือญาติในรูปแบบกราฟฟิก ช่วยให้ผู้เก็บข้อมูลเข้าใจแผนภูมิครอบครัวได้ง่าย เนื่องจากสามารถถ่ายภาพหน้าตาของเจ้าของข้อมูลในแต่ละลำดับลงไปในระบบ รวมถึงแสดงข้อมูลส่วนตัวของแต่ละคนในผังได้อย่างละเอียด อาทิ เลขบัตรประชาชน สิทธิที่ใช้ในการรักษา อายุ เพศ สถานะ โรคประจำตัว ยาที่เคยรับ จำนวนครั้งที่รับการรักษา ประวัติการรักษาเดิม ความเสี่ยงในการเกิดโรคพันธุกรรม ซึ่งระบบสามารถแสดงผลเครือญาติได้ 4 รุ่นอายุคนในปัจจุบัน
 เมื่อเจ้าหน้าที่เยี่ยมคนไข้และกรอกข้อมูล ซึ่งสามารถใช้งานในแบบออฟไลน์ได้เสร็จแล้วข้อมูลที่ถูกเก็บในอุปกรณ์แอนดรอยด์จะปรับปรุงข้อมูลล่าสุดอัตโนมัติเมื่อนำไปเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ด้วยโปรแกรม AutoSync ที่นักวิจัยออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานโดยตรง โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมากมาย
 “โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพชุมชนในแบบเดิม ที่ใช้แรงงานคนจดลงกระดาษหลังจากเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและต้องกลับมากรอกข้อมูลเข้าระบบงานสถานีอนามัย JHCIS ซึ่งเสี่ยงต่อการคลาดเคลื่อนของข้อมูลในการทำซ้ำ อีกทั้งความเข้าใจยากในสัญลักษณ์ภาพสี่เหลี่ยมและวงกลมที่ใช้แทนเพศหญิงและชาย ไม่สามารถแสดงเป็นรูปหน้าตาของเจ้าของข้อมูลได้โดยตรง ”ผู้พัฒนาระบบกล่าว
 ระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนแบบพกพา จะทำให้แพทย์เฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดในกลุ่มเสี่ยงได้สะดวก และกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรนโยบายด้านสุขภาพให้แก่แต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับงบประมาณ
 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อุดหนุนทุนพัฒนาโปรแกรมผู้ช่วยแพทย์ 2 แสนบาท ซึ่งดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2553 ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอผลงานไปยังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การลงทุนขยายผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริงเชิงพาณิชย์ อีกทั้งอนาคตยังสามารถต่อยอดระบบให้เก็บข้อมูลได้อีกหลากหลาย เท่าที่แพทย์จำเป็นต้องใช้ในการเยี่ยมบ้านคนไข้
 ระบบเก็บแฟ้มข้อมูลหลังคาเรือนแบบพกพาของเนคเทคยังได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวดพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในงานไทยแลนด์ เกม โชว์ 2011

ระบบคอมพิวเตอร์ - CWS Project

อ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=8VibAHlECDM&feature=related

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

อ้างอิง http://www.youtube.com/watch?v=wOLvkIyg8W8&feature=related

สื่อเสริมทักษะ



อ้างอิง http://www.tiptoys.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539158893&Ntype=2

นวัตกรรมทางการศึกษา วิชา คอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือประมวลผลที่สามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว  ตามคำสั่งที่ป้อน ให้เครื่อง ไว้ตั้งแต่เริ่มทำงาน เครื่องจะทำงานอย่างอัตโนมัติ  จนสำเร็จลุล่วงไปตามต้องการ เครื่องสามารถ คำนวณ ได้ทั้งบวก ลบ คูณ หารไปจนถึงการคำนวณที่ยุ่งยาก นอกจากนี้ เครื่องสามารถเก็บข้อมูล คำสั่ง และผลลัพธ์ไว้ได้  สามารถเปรียบเทียบตัวเลขว่าเท่ากันหรือไม่  ตรวจสอบเครื่องหมายว่าเป็นบวกหรือลบ  สามารถย้ายข้อมูลไปได้ทั่วส่วนความจำ  สามารถป้อนข้อมูลใหม่  ชุดคำสั่งใหม่  สามารถ นำเอาข้อมูลออก มาจากส่วนความจำเพื่อทำการคำนวณตามขั้นตอนต่างๆ แล้วนำผลลัพธ์เข้าเก็บในส่วนความจำ และ สามารถนำเอาผลลัพธ์ออกจากส่วนความจำไปแสดงที่ส่วนแสดงผลส่วนประกอบของ คอมพิวเตอร์ หมายถึง วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรเบ็ดเสร็จหรือไอซี  สายไฟฟ้า ตัวเก็บประจุตัวความต้านทาน ฯลฯ
          เครื่อง คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีหลอดสุญญากาศจำนวนหมื่นๆ หลอดเป็นส่วนสำคัญ มีขนาดใหญ่โต   ใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนมากความร้อนที่เกิดจากการเผา ไส้หลอด ก็มีจำนวนมาก อายุการใช้งานของหลอดไม่ยืนยาว ต้องระมัดระวังรักษาและซ่อมบำรุงเป็นอย่างดี ในสมัย ต่อมาได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์เข้ามาใช้แทนหลอดสุญญากาศ   ทำให้สามารถสร้างเครื่อง ที่มีขนาด เล็กลงกว่าเดิม ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมากและทำงานได้ดี   ต่อมาได้นำเอาผลิตภัณฑ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่รวมวงจรทรานซิสเตอร์หลายๆ ตัวลงบนแผ่นเดียวกันเรียกว่าวงจรเบ็ดเสร็จ เข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบ ของคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงไปอีก และทำงานได้เร็วขึ้นการสร้างคอมพิวเตอร์มีแนว โน้มที่จะสร้างเป็น ๒ แนวทางแนวทางแรกจะหนักไปในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ ชนิดที่ทำงานได้รวดเร็วมาก มีอัตราปริมาณ ๑,๐๐๐ล้านคำสั่งต่อวินาที อีกแนวทางหนึ่งจะหนักไปในทาง สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เล็กลง ประหยัดและทำงานได้รวดเร็วพอสมควร เรียกว่า คอมพิวเตอร์